เทศบาลตำบลลำน้ำพอง
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
https://www.lumnamphong.go.th
นายภาณุวัฒน์  พงษ์สมบัติ
นายภาณุวัฒน์ พงษ์สมบัติ
นายกเทศมนตรีตำบลลำน้ำพอง
บุคลากร
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลสำหรับประชาชน
Social Network
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
5   คน
สถิติวันนี้
153   คน
สถิติทั้งหมด
393650   คน
เริ่มนับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ 

วิสัยทัศน์ :

“ ลำน้ำพองไร้มลพิษ  ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีรายได้  เป็นศูนย์กลางการค้าขายและคมนาคม   ปลูกฝังค่านิยมรักท้องถิ่น ”

 

 

พันธกิจ :
๑.  เสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและพัฒนาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ยั่งยืน

๒.  พัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีทักษะในวิชาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรม
๓.  จัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบให้ได้มาตรฐาน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
๔.  สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งและแข่งขันได้ โดยเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การบริการและการท่องเที่ยว
๕.  พัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่ง ระบบบริการสาธารณะ และเครื่องข่ายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน
๖.  บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ มีความสมดุลอย่างยั่งยืน
๗.  สืบสานวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมปรคะเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น

 


ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย   ๗  ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่  ๑  การขจัดความยากจน
ยุทธศาสตร์ที่  ๒ การพัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่
ยุทธศาสตร์ที่  ๓  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่  ๔  การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การค้าและการลงทุน
ยุทธศาสตร์ที่  ๕  การพัฒนาการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่  ๖  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่  ๗  การพัฒนาระบบการบริหารงานที่ดี

 
                       
เป้าประสงค์ 
๑)  การได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและเสมอภาค
๒)  มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ บ้านเรือนและชุมชนน่าอยู่
๓)  ประชาชนมีศักยภาพ  มีความรู้  มีรายได้เพียงพอ สามารถพึ่งตนเองได้
๔)  การบริหารจัดการภาครัฐที่ดี มีการบูรณาการและมีส่วนร่วม
๕)  ประชาชนมีค่านิยม รักประเพณี วัฒนธรรมของตนเอง
๖)   ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยที่ดี
                               
 
ตัวชี้วัด
๑.  ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน
ตัวชี้วัด

๑.   จำนวนครัวเรือนที่มีอาชีพ มีรายได้สามารถพึ่งตนเองได้

๒.   จำนวนผู้ยากจนผู้ด้อยโอกาสได้รับการสงเคราะห์
๓.   จำนวนวิสาหกิจชุมชนหรือสินค้า OTOP ที่เพิ่มขึ้น
๔.   จำนวนภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
๕.   จำนวนครัวเรือนที่ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๖.   จำนวนครัวเรือนที่ได้รับคำแนะนำเพื่อสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพ
 
 
๒.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่
ตัวชี้วัด 

๑.  จำนวนผังเมืองที่จัดได้อย่างเป็นระบบ

๒.  จำนวนโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน
๓.  จำนวนประชาชนที่ปลอดภัยและได้รับการช่วยเหลือจากระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในท้องถิ่น
๔.  จำนวนชุมชนที่มีความปลอดภัยและปลอดอบายมุข  ปลอดยาเสพติด
๕.  จำนวนระบบการให้บริการขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ

 

๓.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ

ตัวชี้วัด
๑.จำนวนครัวเรือนที่ปลอดภัย และปลอดยาเสพติด เยาวชน ประชาชนที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟู

๒.จำนวนเยาวชนที่มีการประพฤติปฏิบัติ มี คุณธรรม จริยธรรมทางสังคมดีเด่น
๓.จำนวนประเพณีอันดีงามที่ได้อนุรักษ์สู่คนรุ่นหลัง
๔.จำนวนประชาชนที่ได้รับบริการด้านสาธารณสุข การรักษาพยาบาล
๕.จำนวนภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน แพทย์ทางเลือก สมุนไพรที่ปฏิบัติกันอยู่
๖.จำนวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือและมีศักยภาพ
๗.จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการคุ้มครองการบริโภคและสิ่งแวดล้อม
๘.  จำนวนสถานศึกษาทั้งในและนอกระบบ แหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการจัดการศึกษาได้มาตรฐาน
๙.  จำนวนคนที่รักการเล่นกีฬาและได้รับการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศ
๑๐.จำนวนสนามกีฬากลางที่ได้มาตรฐาน
                                                                             
๔.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน
ตัวชี้วัด

๑.จำนวนสินค้าการเกษตรที่สามารถแข่งขันในตลาดได้
๒.จำนวนพืชที่ปลูกทดแทนพลังงาน
๓.จำนวนสินค้า OTOP& SMEs ที่เข้มแข็ง
๔.จำนวนเส้นทางคมนาคม ถนน และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ
๕.จำนวนภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นที่นำมาสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน
 
๕.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด
๑.  จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟู

๒.  จำนวนครั้งของการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมที่จัดส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยว
๓.  จำนวนเครือข่ายที่ร่วมมือในการบริหารจัดการ
๔.  จำนวนนักท่องเที่ยวที่ได้รับบริการและอำนวยคามสะดวกในทุก ๆ ด้าน

 

๖.  ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด
๑.  จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนา

๒.  จำนวนพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์มีแนวป้องกันการพังทลายหน้าดิน
๓.  จำนวนกลุ่มน้ำที่ได้บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
๔.  จำนวนกลุ่มหรือองค์กรที่มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
๕.  จำนวนชุมชนและบุคลากรของรัฐที่ได้รับการฝึกอบรม
๖.  จำนวนขยะ สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย ที่ได้บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
๗.  จำนวนต้นไม้ที่ปลูกในที่สาธารณะและที่ว่างเปล่า

 

๗.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการบริหารงานที่ดี

ตัวชี้วัด                                 
๑.  จำนวนประชาชนและองค์กรที่มาติดต่อพึงพอใจในบริการ

๒.   จำนวนคนและกลุ่มที่แสดงออกในการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย
๓.   จำนวนประชาชน องค์กรที่มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
๔.   จำนวนงบประมาณที่ใช้ตามโครงการ
๕.   จำนวนโครงการที่จัดเนื่องในโอกาสวันสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
๖.  จำนวนองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมกันป้องกันและแก้ไขวิบัติภัย
๗.  จำนวนการเลือกตั้งที่มีความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม
๘.  จำนวนผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
 
 
  
ค่าเป้าหมาย 
ยุทธศาสตร์ที่  ๑  การขจัดความยากจน
เป้าหมาย   
                                               
         เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการแก้ปัญหาความยากจน  ส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง  โดยส่งเสริมขบวนการเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   จัดคาราวานแก้จนให้คำแนะนำและจัดสวัสดิการสังคม ให้การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิต ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของคนจน  ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
 
ยุทธศาสตร์ที่  ๒  การพัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่
เป้าหมาย

           เพื่อสนับสนุนการจัดทำผังเมืองพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  การคมนาคมขนส่งระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน  เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยในชุมชน ปลอดยาเสพติด ปลอดอบายมุขโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการให้บริการขนส่งมวลชน

 

ยุทธศาสตร์ที่  ๓  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
เป้าหมาย

           เพื่อสนับสนุนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับทั้งในและนอกระบบครอบคลุมทุกวัยได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพมีคุณธรรมนำความรู้  เสริมสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง อนุรักษ์  สืบสานศาสนาจารีตประเพณี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีสงบสุข ปลอดจากอบายมุขและสิ่งเสพติด มีสุขภาพที่สมบูรณ์ในทุกมิติ ได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ให้คนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ เป็นคนดี มีคุณภาพ มีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม เชิดชูคุณค่าความเป็นไทยบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม ให้สังคมมีความสมานฉันท์และสันติสุข ส่งเสริมการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ 


ยุทธศาสตร์ที่  ๔  การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การค้าและการลงทุน
เป้าหมาย

            เพื่อพัฒนาส่งเสริมเพิ่มพูนมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตการออกแบบ การบรรจุภัณฑ์   การตลาด    เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตร   ส่งเสริมการผลิตพืชพลังงานทดแทน ส่งเสริมพัฒนาสินค้า OTOP เพิ่มประสิทธิภาพ SMEs    และผู้ประกอบการเพื่อสร้างความเข้มแข็งสามารถแข่งขันได้ พัฒนาปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน  การคมนาคมขนส่ง  นำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้สร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน

 

ยุทธศาสตร์ที่  ๕  การพัฒนาการท่องเที่ยว
เป้าหมาย

             เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ประชาสัมพันธ์จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างเครือข่ายร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน  สถาบันการศึกษา  พัฒนาการให้บริการ                  การบริหารจัดการ สิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย โครงสร้างพื้นฐานพร้อมบุคลากร

 

ยุทธศาสตร์ที่  ๖  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย

           เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเพื่ออนุรักษ์  พัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน อนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่า  ป่าต้นน้ำลำธารให้เกิดความสมบูรณ์ พัฒนาปรับปรุงคุณภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ บริหารทรัพยากรน้ำ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ        น้ำท่วม คุณภาพน้ำ พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน 
เพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดขยะชุมชน สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย ป้องกันควบคุมมลพิษให้อยู่ในระดับมาตรฐานเพื่อคุณภาพที่ดีและอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น

 

ยุทธศาสตร์การที่  ๗  การพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานที่ดี
เป้าหมาย

           เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นให้โปร่งใส สุจริต  เพื่อสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล     พัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นที่มีคุณธรรม   จริยธรรมและธรรมาภิบาล พัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขีดความมารถในด้านการบริหารจัดการ การเงิน  การคลังและงบประมาณให้มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล  ประชาชนมีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการภาครัฐ ยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน  ท้องถิ่นมีความเข้มแข็งสามารถบริหารจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง   พระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์ไม่มีผู้ใดล่วงละเมิด สร้างความมั่นคง  ปลอดภัย  สันติสุขและสมานฉันท์ของทุกภาคส่วน
 
 
 
 
 
 
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์การที่  ๑  การขจัดความยากจน

๑.  พัฒนาอาชีพและรายได้ของประชาชนและการเข้าถึงบริการสังคม

๒.  สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาสในด้านที่อยู่อาศัยและการดำรงชีวิต
๓.  พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้กระบวนการวิสาหกิจชุมชน
๔.  พัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนา
๕.  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๖.  จัดคาราวานแก้จนที่ให้บริการและคำแนะนำเพื่อสร้างโอกาสและทางเลือก
๗.  ส่งเสริมพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานของชุมชนให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น
 
ยุทธศาสตร์การที่  ๒  การพัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่
๑.  การจัดทำผังเมือง

๒.  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน
๓.  พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในท้องถิ่น
๔.  พัฒนาส่งเสริมสนับสนุนระบบรักษาความปลอดภัยให้เมืองและชุมชนปลอดภัย ปลอดยาเสพติดปลอดอบายมุข โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม
๕.  เพิ่มพัฒนาประสิทธิภาพระบบการให้บริการขนส่งมวลชน

 

ยุทธศาสตร์การที่  ๓  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
๑.  ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายและจิตใจ

๒.  พัฒนาส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและนอกระบบคลอบคลุมทุกเพศทุกวัย
๓.  อนุรักษ์ สืบสาน ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและค่านิยมที่ดีงามสู่คนรุ่นหลัง
๔.  ส่งเสริมการจัดการด้านสาธารณสุข การป้องกัน ควบคุมโรค การรักษาพยาบาล
๕. พัฒนาส่งเสริมสนับสนุนแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร
๖.  ผลิตและพัฒนาฝีมือแรงงาน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันอย่างเป็นระบบ
๗. ส่งเสริมการกีฬาเพื่อสร้างนิสัยรักกีฬา   กติกาสังคม  และสร้างโอกาสให้สู่ความเป็นเลิศ
๘.  ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง
๙.  พัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ
๑๐. ส่งเสริม    สนับสนุน    พัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
๑๑.  สงเคราะห์ผู้พิการ   ผู้ป่วยเอดส์ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
๑๒.  ส่งเสริมเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ และสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ

 

ยุทธศาสตร์การที่  ๔  การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน  การค้าและการลงทุน
๑.พัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรอย่างครบวงจรและส่งเสริมกลไกการตลาด

๒.ส่งเสริมการผลิตพืชพลังงานทดแทน
๓.พัฒนาส่งเสริมและเพิ่มมูลค่า OTOP &  SMEs  ให้มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้
๔.พัฒนาปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง ให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ
๕.ส่งเสริมสนับสนุนการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้สร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน
๖.  ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกร
 
ยุทธศาสตร์การที่  ๕  การพัฒนาการท่องเที่ยว
๑.  ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนา ฟื้นฟู แหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

๒.  ประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว
๓.  สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาในการบริหาร จัดการ
๔. พัฒนาคุณภาพการให้บริการ การบริหารจัดการ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวทั้งด้านบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน และความปลอดภัย
 
ยุทธศาสตร์การที่  ๖  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑.  ส่งเสริมสนับสนุน ฟื้นฟู พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว /กำจัดวัชพืช
๒.  อนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

๓.  จัดทำระบบการบริหารจัดการกลุ่มน้ำในพื้นที่แบบบูรณาการให้เกิดประสิทธิผลเพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งป้องกันอุทกภัยและรักษาคุณภาพน้ำ
๔. ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสร้างองค์ความรู้และศักยภาพการบริหารจัดการให้กับชุมชนและบุคลากรของรัฐในท้องถิ่น
๕.  เพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดขยะชุมชน สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย

๖.  ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ เพิ่มในที่ดินสาธารณะและที่ดินว่างเปล่า


ยุทธศาสตร์การที่  ๗  การพัฒนาระบบการบริหารงานที่ดี
๑.จัดระบบและปรับกระบวนงานเพื่อลดขั้นตอนและอำนวยความสะดวกต่อการให้บริการ

๒.สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยและกระบวนการประชาคมโดยประชาชนมีส่วนร่วม
๓.ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐทุกระดับจากทุกภาคส่วน
๔. สร้างเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในองค์กร
๕.  สนับสนุนระบบถวายความปลอดภัยพิทักษ์รักษาและเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์
๖.  ส่งเสริมและสนับสนุนการผนึกกำลังของภาคราชการและภาคเอกชนในการป้องกันและแก้ไขวิบัติภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๗.  พัฒนาการเมืองท้องถิ่นให้มีความโปร่งใส สุจริต
๘.  พัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นที่มีคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล
๙.   ส่งเสริมและพัฒนาระบบหารบริหารงานให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
๑๐.  ส่งเสริม  สนับสนุน   พัฒนา   เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน  เจ้าหน้าที่  ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 

จุดยืนทางยุทธศาสตร์
                 ศักยภาพพื้นที่ของเทศบาลตำบลลำน้ำพอง มีปัจจัยที่เหมาะสมต่อการพัฒนาด้านการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่  เนื่องด้วยมีลำน้ำพอง และมีระบบคลองชลประทานในพื้นที่ ประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ปลูกข้าวและทำไร่ เช่น อ้อย, มันสำปะหลัง เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมจัดตั้งในพื้นที่ตำบลน้ำพองเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดมลภาวะในชุมชนบริเวณรอบโรงงานอีกด้วย เทศบาลต้องเตรียมความพร้อมด้านปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านการคมนาคม ที่ตำบลน้ำพองจะเป็นเส้นทางศูนย์กลางการเดินทางการท่องเที่ยว เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ แล้วนั้น อีกทั้งเป็นการรองรับการขยายตัวของความเจริญในการพัฒนาท้องถิ่นในอนาคตต่อไป



เข้าชม : 1089