เทศบาลตำบลลำน้ำพอง
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
https://www.lumnamphong.go.th
นายภาณุวัฒน์  พงษ์สมบัติ
นายภาณุวัฒน์ พงษ์สมบัติ
นายกเทศมนตรีตำบลลำน้ำพอง
บุคลากร
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลสำหรับประชาชน
Social Network
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
6   คน
สถิติวันนี้
270   คน
สถิติทั้งหมด
394446   คน
เริ่มนับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561

กระดานสนทนา (เว็บบอร์ด)


สูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงเกิด "ภาวะสมองล้า"
โดย : สำนักปลัดเทศบาล   เมื่อ : วันจันทร์ ที่ 10 เดือน มกราคม พ.ศ.2565   


สูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงเกิดภาวะสมองล้า thaihealth

 

รู้หรือไม่….การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด ‘สภาวะสมองล้า’ ยิ่งสูบตอนอายุน้อย ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง!!

วันที่ 3 มกราคม ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผย งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Rochester สหรัฐอเมริกา ที่รายงานความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากับสภาวะสมองล้า โดยพบว่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะเกิดสภาวะสมองล้า คือมีปัญหาในการจดจ่อ จดจำ หรือตัดสินใจ มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า จากข้อมูลกรมสุขภาพจิต สภาวะสมองล้า หรือ brain fog เกิดจากการทำงานอย่างหนักจนทำให้รู้สึกมึนหัว รู้สึกตื้อ หรือฟุ้งๆ ความจำสั้น ไม่สามารถโฟกัสกับอะไรได้ รวมไปถึงการบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานในระยะยาว ไปจนถึงเป็นตัวเริ่มต้นของโรคร้ายแรงต่างๆ อย่างโรคเครียด หรืออาจถึงขั้นเกิดสภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยอันควรได้

“งานวิจัยชุดนี้ทำให้ทราบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของสภาวะสมองล้า ซึ่งงานวิจัยยังปรากฏว่าเด็ก ๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดสภาวะสมองล้ามากขึ้น หากเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าก่อนอายุ 14 ปี โดยเด็กที่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า พบว่ามีแนวโน้มเกิดสมองล้าสูงกว่าเด็กที่ไม่เคยสูบ 3-4 เท่า ส่วนกรณีผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าพบมีแนวโน้มเกิดสมองล้าสูงกว่าคนที่ไม่เคยสูบ 2 เท่า ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ต้องถือว่าเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่รายงานผลของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าต่อสมองในคน ซึ่งก่อนหน้ามีการศึกษาเฉพาะในสัตว์ทดลอง” ดร.พญ.เริงฤดี กล่าว

สูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงเกิดภาวะสมองล้า thaihealth

 

ดร.Dongmei Li หัวหน้าทีมวิจัย   กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้ได้เพิ่มหลักฐานที่เพิ่มขึ้นว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ควรถูกพิจารณาว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับการสูบบุหรี่ โดยใช้ข้อมูลสำรวจขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา 2 ชุดข้อมูล ได้แก่ การสำรวจการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชน (the National Youth Tobacco Survey) ที่เก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 18,000 คน และการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ (the Behavioral Risk Factor Surveillance System) ที่เก็บข้อมูลจากผู้ใหญ่ จำนวน 886,000 คน ซึ่งจากข้อมูลสำรวจทั้งสองชุดนี้ ให้ผลตรงกันว่า ผู้ที่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าโดยไม่คำนึงถึงอายุมักจะรายงานว่ามีปัญหาสภาวะสมองล้า

นอกจากนี้ ยังพบว่าคนที่สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้าอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดสภาวะสมองล้าในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสูงกว่ากลุ่มคนที่ไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาในกลุ่มเยาวชนยังพบว่า นักเรียนที่เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อายุระหว่าง 8-13 ปี มีแนวโน้มที่จะปัญหาด้านสมาธิ ความจำ หรือตัดสินใจได้ยากกว่าผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่ออายุ 14  ปีขึ้นไป

ดร. Li กล่าวเพิ่มเติมว่า “การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของวัยรุ่นที่เพิ่มขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมาก และแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องเข้าไปแทรกแซงตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งการป้องกันที่เริ่มต้นในโรงเรียนมัธยมต้นหรือมัธยมปลายอาจจะสายเกินไปแล้ว เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการทำงานของสมองระดับสูง ซึ่งหมายความว่าวัยรุ่นอาจมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกิดจากนิโคติน แม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะพบสารอันตรายบางอย่างน้อยกว่าที่พบในบุหรี่ แต่ก็นิโคตินยังคงมีปริมาณที่เท่ากันหรืออาจมากกว่า” ดร. Li กล่าว

 

 

 

อ้างอิง

New Studies Suggest Vaping Could Cloud Your Thoughts: https://www.urmc.rochester.edu/news/story/new-studies-suggest-vaping-could-cloud-your-thoughts

Electronic cigarette use and subjective cognitive complaints in adults: https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0241599

Association of electronic cigarette use with self-reported difficulty concentrating, remembering, or making decisions in US youth: http://www.tobaccoinduceddiseases.org/Association-of-electronic-cigarette-use-with-self-reported-ndifficulty-concentrating,130925,0,2.html

Brain Fog สภาวะสมองล้าที่บั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30597

 

ที่มา :  ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

 



เข้าชม : 2620



*** กรุณาสมัครสมาชิกเพื่อแสดงความคิดเห็น สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ ***